วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

     ทิศนา แขมมณี (2550 : 48 – 80) กล่าวไว้ว่า ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
........1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
........2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
........3.วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
........4.ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
........5.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับ ความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)
........6.แฮร์บาร์ตเชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่
     http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
     http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling)คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส 
     สรุป
     ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception) คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากบุคคลที่ได้รับประสบการณ์ผ่านประสาททั้ง 5 และความรู้สึก เมื่อมีการรับรู้แล้วก็จะเกิดการเชื่อมโยงทางความคิดแล้วทำการประมวลผลที่ได้จากการรับรู้และการเชื่อมโยงออกมา
     เอกสารอ้างอิง
    ทิศนา แขมมณีและคณะ.(2540).ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.กรุงเทพฯ :
ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอเดียสแควร์.
    URL : http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554
    URL :
http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554   

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)


     http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก 
    http://surinx.blogspot.com/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
      
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
........1.
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
........2.
ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้
มนุษย์ก็จะสามารถพัมนาตนเองไปตามธรรมชาติ
........3.
รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
........4.
รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
........5.
เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
........6.
เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
........7.
ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 35 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
........8.
ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

     
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
.........1.
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น
.........2.
การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
.........3.
ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่
............3.1
ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
............3.2
ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
............3.3
ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
............3.4
ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
.........4.
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
      บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษา การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ และสิ่งที่มีความหมายมากคือ แนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากกิจกรรมการใช้สื่อรูปธรรม (Ginsburj & Opper , 1969) หากแนวคิดนี้ถูกนำไปใช้ในห้องเรียนและแนะนำผู้เรียนมากกว่าเป็นผู้สอน โดยตรงตามทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget's Theory of Intellectual Developement) 
     สรุป
     ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) ธรรมชาติ คือ แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ เพราะการใช้ของจริงที่เป็นรูปธรรมในการเรียนรู้นั้น สามารถที่จะให้เด็กนั้นเข้าใจได้ง่าย เรียนรู้ได้ดี การจัดการศึกษาควรจัดการศึกษาให้เด็ก ควรพิจารณาจากระดับอายุเป็นหลัก ยึดให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความต้องการและความสนใจของตน ให้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
      เอกสารอ้างอิง
     URL : http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554
     URL :  http://surinx.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
    บุญเลี้ยง ทุมทอง. (1/2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต ; มหาสารคาม.

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)

     http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา

     http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method)  และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
     บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist Theoty)
     สรุป 
     ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) เป็นทฤษฎีที่พัฒนาสมองและสติปัญญาของผู้เรียนให้ปราดเปรื่อง โดยการฝึกให้มาก เพื่อให้ตัวผู้เรียนนั้นมีความแข็งแกร่งของสมองมากยิ่งขั้น ทฤษฎีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และกระตุ้นความรู้ของผู้เรียนออกมา ใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ฝึกและปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้และดึงความรู้ของผู้เรียนออกมา อีกทั้งยังช่วยเติมความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน
    เอกสารอ้างอิง
    URL : http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554
    URL : http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554
    บุญเลี้ยง ทุมทอง. (1/2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต ; มหาสารคาม.