วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ใบความรู้ เรื่อง ร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ใบความรู้
เรื่อง ร้อยละ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1

1. อัตราส่วน
ความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณ

ซึ่งมีหน่วยเดียวกัน หรือหน่วยต่างกัน เรียกว่า “อัตราส่วน”
       นั่นคือ อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อปริมาณ b เขียนแทนด้วย

a : b หรือ a/b
       เรียก a ว่า จำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน
       เรียก b ว่า จำนวนหลังหรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน
ข้อสังเกต
       เมื่อ a b แสดงว่า อัตราส่วน a : b ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกัน กับอัตราส่วน b : a ตัวอย่างเช่น
       อัตราส่วนของปริมาณไข่ไก่เป็นฟองต่อราคาเป็นบาท เป็น 7 : 28 ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับ 28 : 7
       เพราะอัตราส่วน 7 : 28 หมายถึงปริมาณไข่ไก่ 7 ฟอง ราคา 28 บาท แต่ในขณะที่อัตราส่วน 28 : 7 หมายถึง ปริมาณไข่ไก่ 28 ฟอง ราคา 7 บาท
       นั่นคือ อัตราส่วน a : b ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกับ b : a




อัตราส่วนที่เท่ากัน
       รถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตราส่วนของเวลาที่ใช้วิ่ง (ชั่วโมง)
ต่อระยะทาง (กิโลเมตร) เป็นดังนี้
       1 : 60 , 2 : 120 , 3 : 180 , 4 : 240 , 5 : 300 ,…
       อัตราส่วนทั้งหมดเป็นอัตราส่วนที่แสดงอัตราเดียวกัน เรียกอัตราส่วนดังกล่าวว่า
อัตราส่วนที่เท่ากัน
ซึ่งเขียนได้ดังนี้ 1 : 60 = 2 : 120 = 3 : 180 = 4 : 240 = 5 : 300 หรือ




หลักการหาอัตราส่วนที่เท่ากัน มีดังนี้
-      หลักการคูณ  เมื่อคูณจำนวนแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกัน โดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
-      หลักการหาร  เมื่อหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกัน โดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม

อัตราส่วนของหลายๆ จำนวน
       จากอัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน a : b : c เราสามารถเขียนอัตราส่วนของจำนวนทีละสองจำนวนได้เป็น a : b และ b : c เมื่อ m แทนจำนวนใดๆ
       จะได้ว่า    a : b       =     am : bm
       และ         b : c        =     bm : cm
       ดังนั้น  a : b : c       =     am : bm : cm ; เมื่อ m แทนจำนวนบวก
       ถ้ามีอัตราส่วนของจำนวนที่มากกว่าสามจำนวนก็สามารถใช้หลักการเดียวกันนี้ เช่น
       a : b : c : d  =  am : bm : cm : dm ; เมื่อ m แทนจำนวนบวก



2.ร้อยละ
       คำว่า ร้อยละ หรือเปอร์เซ็น เป็นอัตราส่วนแสดงการเรียบเทียบปริมาณใด
ปริมาณหนึ่งต่อ
100
       เช่น  ร้อยละ 50 หรือ 50%
       เขียนแทนด้วย  50 : 100 หรือ 50/100

การเขียนร้อยละให้เป็นอัตราส่วน
       ทำได้โดยเขียนเป็นอัตราส่วนที่มีจำนวนแรกเป็นค่าของร้อยละ
และจำนวนหลังเป็น
100
เช่น         33%       =     33/100
               6%        
=      6/100           0.01%        =     0.1/100  หรือ  1/1000
               
การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับร้อยละ
       ตัวอย่าง  ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งมีคนอาศัยอยู่ 1,200 คน 6% ของจำนวนคนทั้งหมด ที่อยู่ในหมู่บ้านนี้ทำงานในโรงงานสับปะรดกระป๋อง จงหาจำนวนคนที่ทำงานในโรงงานสับปะรดกระป๋อง
วิธีทำ       ให้จำนวนคนที่ทำงานในโรงงานสับปะรดกระป๋องเป็น X คน
                อัตราส่วนของจำนวนคนที่ทำงานในโรงงานต่อคนจำนวนคนทั้งหมดเป็น  X/1200                อัตราส่วนดังกล่าวคิดเป็น 6% =  6/100
                เขียนสัดส่วนได้ดังนี้  X/1200  =  6/100
                                       จะได้   X (100)  =  1200 x 6
                                                          X    =   1200 x 6 / 100
                                       ดังนั้น         X    =    72
              นั่นคือ จำนวนคนงานที่ทำงานในโรงงานสับปะรดกระป๋องเป็น 72 คน                                                                                                                                                                                        Ans.


วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

ชื่อนวัตกรรม :  การเรียนการสอนวิชาสถิติ โดยใช้โปรแกรม SPSS
ใช้สอนเรื่อง :  Statistics สถิติ

เหมาะสำหรับนักเรียน :  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้  คือ

           ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการศึกษาค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราจึงควรจะเร่งพัฒนาการศึกษา ให้การศึกษานั้นไปพัฒนาคุณภาพของ เพื่อนให้คนนั้นไปช่วยพัฒนาประเทศเป็นลำดับต่อไป การนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษานั้นจึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา เช่น การนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีคือ สิ่งที่ผสมผสานภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล จึงนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ การตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ คือการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเรียนรู้ เพื่อจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและยังสามารถเรียนรู้ได้มากภายในเวลาที่จำกัด และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

     วัฒนา นัทธี .2547 (http://www.edtechno.com/) กล่าวไว้ว่า
ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแล่งออกเป็น 3 แบบ

     1. รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
     2. รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
     3. รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)


      (http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

     (http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
     1.รูปแบบหลัก
     2. รูปแบบผู้เรียน
     3. รูปแบบการปรับตัว

     สรุป
     รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน ประกอบด้วย
      1. รูปแบบหลัก :  เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียน เปรียบเสมือนคลังของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
      2. รูปแบบผู้เรียน :  เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้ เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบ สนองแบบรายบุคคล
      3. รูปแบบการปรับตัว : เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผู้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน

     เอกสารอ้างอิง
     วัฒนา นัทธี .(2547). URL : http://www.edtechno.com/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712  เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


สื่อการสอน

     (http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
     ประเภทของสื่อการสอน
          สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
               1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                    1.1 แผนภูมิ (Charts)
                    1.2 แผนภาพ (Diagrams)
                    1.3 ภาพถ่าย (Poster)
                    1.4 โปสเตอร์ (Drawing)
                    1.5 ภาพเขียน (Drawing)
                    1.6 ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                    1.7 ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                    1.8 แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                    1.9 เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
               2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ ได้แก่
                    2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                    2.2 เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                    2.3 เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                    2.4 เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                    2.5 เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                    2.6 เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
               3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                    3.1 บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                    3.2 สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                    3.3 การสาธิต (Demonstration)
                    3.4 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                    3.5 การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                    3.6 กระบะทราย (Sand Trays)



     อัจฉรา วาทวัฒนศักดิ์ (http://www.school.net.th) สื่อการสอน หมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
           ได้กล่าวไว้ทั้ง 3 ประเภท ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected materials) เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้องใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่สื่อภาพ (illustrative materials) เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา เช่น ภาพกราฟิก กราฟ แผนที่ ของจริง ของจำลอง กระดานสาธิต (demonstration boards) ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่นกระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสำลี ฯลฯ และกิจกรรม(activites)
2. สื่อเครื่องฉาย (projected and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภท ที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้าม ศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ คือ เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี เข้าไว้ในเครื่องด้วย เพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3. สื่อเสียง (Audio materials and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน เช่น เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอด
     (http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107) ได้กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพแผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน


     สรุป
     สื่อการสอน คือ สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน - คำพูดท่าทาง - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ
     แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
     -   สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น สี กระดาน ชอล์ค ภาพ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 
     -   สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ คือ สิ่งที่เป็นเครื่องมือ เครื่องฉายภาพวีดีโอ เป็นต้น 
     -   สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม ได้แก่ การสาธิต การทดลอง เล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ จัดสถานการณ์จำลอง เช่น การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน

     เอกสารอ้างอิง
     URL : http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : http://www.school.net.th  เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


เทคโนโลยีสารสนเทศ

     ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:44 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นระบบประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่างๆเพื่อช่วยในการบริหารจัดการงาน เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้การเก็บ รวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์   การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code)   การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้ เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวน  การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ


     (http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm) กล่าวถึง ความหมาย ลักษณะความสำคัญ และบทบาทในการศึกษาว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ  Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย                        1.เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)

            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 

            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

     (www.ranong2.dusit.ac.th/KM&R/tec2.doc) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
     ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          มี 5 ประการ ได้แก่
               1. การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   
               2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
               3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง 
               4. เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
               5. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

     สรุป
     เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างข้อมูงเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด

     เอกสารอ้างอิง
     ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ . สื่่อการสอน.ปทุมธานี: สภายบุ๊คส์ ,2551 
     URL : http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : www.ranong2.dusit.ac.th/KM&R/tec2.doc เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


เทคโนโลยี

      ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:39) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2541 หมายถึงวิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฎิบัติและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีมาจากคำว่า Techno ตรงกับภาษาไทยว่าวิธีการ การสานหรือการสร้าง คำว่า Logy มี ความหมายว่า ความรู้เกี่ยวกับศาตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนด สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การวัดการประเมินผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของ ผู้เรียน


     (http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/unit4_2.html)  ได้รวบรวมและกล่าวว่า ปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม     


     ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) (http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=509&Itemid=4) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม


     สรุป
     เทคโนโลยี หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

     เอกสารอ้างอิง
     ดร.กิดานันท์ มะลิทอง.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพ:เอดิสัน เพรสโฟดัส์
จำกัด ,2537
     URL : http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/unit4_2.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=509&Itemid=4 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


นวัตกรรมทางการศึกษา

     สมบูรณ์  สงวนญาติ (2542 : 14) กล่าวไว้ว่าวิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษาซึ่งแปลกไปจากเดิมโดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยได้มีการทดลองพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฎิบัติและสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


     (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138) ได้รวบรวและกล่าวถึงว่า นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น


       (http://katawut77.blogspot.com/2007/10/blog-post_08.html)  ได้รวบรวมและให้ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาไว้ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอน เทคนิคการสอน การบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้นคิด / สร้างขึ้นใหม่ หรือดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติอยู่ตามปกติที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอยู่ในระหว่างการทดลองใช้หรือยังไม่ได้รับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนโดยสรุปตามปกติแล้ว นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วประหยัดเวลา และช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้รู้ความหมายของคำยอดฮิตที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นคือ นวัตกรรมการศึกษาแล้วทุกๆคนคงหายสงสัยพร้อมที่จะรับมือกับการศึกษายุคใหม่โดยที่ไม่มีทางตกยุคของการศึกษาเลย


     สรุป
     นวัตกรรมทางการศึกษา (Education Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ,การใช้วิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ ,สื่อหลายมิติ และอินเตอร์เน็ตเหล่านี้ เป็นต้น


     เอกสารอ้างอิง
     สมบูรณ์  สงวนญาติ.(2534). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. การศาสนา.กรุงเทพฯ
     URL : http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL : http://katawut77.blogspot.com/2007/10/blog-post_08.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรม

     รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง (2540:16)  กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวคิด การปฎิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีให้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทัน สมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฎิบัติ ประดิษฐ์สิ่งใหม่หรือพัฒนาสิ่งที่อยู่แล้วให้ดีขึ้นและเหมาะสมภาพและ ประสิทธิผล สูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาแรงงานได้ด้วย


      บุญเกื้อ  ควรหาเวช (2542 : 12) กล่าวไว้ว่า การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น


     นอร์ดและทัคเคอร์ (http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=003abc82634a15f2 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม (Radical Innovation) โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value) ความเชื่อ (belief) ตลอดจนระบบค่านิยม (value system) รูปแบบเดิมๆ ของสังคมอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น อินเตอร์เน็ท จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลาและสถานที่นั้นเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไร้ขีดจำกัด ทั้งในด้านของเวลา และระยะทางการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป บางคนเชื่อว่า อินเทอร์เน็ตจะเข้ามาแทนที่ระบบการส่งข้อมูลข่าวสารในระบบเดิม อย่างสิ้นเชิงในไม่ช้า เช่น ระบบไปรษณีย์ ฯลฯ


     สรุป
     นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย


     เอกสารอ้างอิง
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สุทธฺรัตน์. (2553). ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักพิมพ์ บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์มปอเรชั่น จำกัด ; กรุงเทพมหานค
     บุญเกื้อ  ควรหาเวช.(2542).นวัตกรรมการศึกษา.เจริญวิทย์การพิมพ์.กรุงเทพฯ
     URL : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=003abc82634a15f2 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

     (Johnson and Johnson, 1994 : 31-37) กล่าวไว้ว่า Slavin, David Johnson และ Roger Johnson นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
     การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม ซึ่งมีองค์ประกอบของการเรียนรู้ดังนี้

          1. การพึ่งพากันทางบวก (Positive interdependence)
          2. การมีปฏิสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน (face-toface promotive interaction)
          3. การกำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (individual accountability)
          4. การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะกลุ่มย่อย (interpersonal and smallgroup skills)
          5. การใช้กระบวนการกลุ่ม (group processing)
     การออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติสำคัญ 5 ประการ คือ มีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกัน สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะการทำงานกลุ่มและการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน


     (http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3–6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

      ทิศนา แขมมณี ได้รวบรวมไว้ว่า Johnson and Johnson (1994 : 31 - 37) ได้สรุปว่า Cooperative Learning มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
 1. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก (Positive Interdependent) หมายถึงการพึ่งพากันใน
ทางบวก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การพึ่งพากันเชิงผลลัพธ์ คือการพึ่งพากันในด้านการได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ซึ่งความสำเร็จของกลุ่มอาจจะเป็นผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่ม ในการสร้างการพึ่งพากันในเชิงผลลัพธ์ได้ดีนั้น ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน จึงจะเกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สามารถร่วมมือกันทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ และการพึ่งพาในเชิงวิธีการ คือ การพึ่งพากันในด้านกระบวนการทำงานเพื่อให้งานกลุ่มสามารถบรรลุได้ตามเป้า หมาย ซึ่งต้องสร้างสภาพการณ์ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มได้รับรู้ว่าตนเองมีความ สำคัญต่อความสำเร็จของกลุ่ม ในการสร้างสภาพการพึ่งพากันในเชิงวิธีการ มีองค์ประกอบ ดังนี้

     1.1 การทำให้เกิดการพึ่งพาทรัพยากรหรือข้อมูล (Resource Interdependence) คือ แต่ละ
บุคคลจะมีข้อมูลความรู้เพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่องาน ของกลุ่ม ทุกคนต้องนำข้อมูลมารวมกันจึงจะทำให้งานสำเร็จได้ ในลักษณะที่เป็นการให้งานหรืออุปกรณ์ที่ทุกคนต้องทำหรือใช้ร่วมกัน
     1.2 ทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงบทบาทของสมาชิก (Role Interdependence) คือ การกำหนด บทบาทของการทำงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่ม และการทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงภาระงาน (Task Interdependence)คือ แบ่งงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่มมีทักษะที่เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำงานของตนไม่เสร็จ จะทำให้สมาชิกคนอื่นไม่สามารถทำงานในส่วนที่ต่อเนื่องได้
2. การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม (Face to Face Promotive Interdependence) หมาย ถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด การอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกในกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกภายในกลุ่ม จะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันทางสังคม จากการช่วยเหลือสนับสนุนกัน การเรียนรู้เหตุผลของกัน
และ กัน ทำให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ การทำงานของตนเอง จากการตอบสนองทางวาจา และท่าทางของเพื่อนสมาชิกช่วยให้รู้จักเพื่อนสมาชิกได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3. ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมาย ถึง ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน โดยต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนสมาชิก ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสามารถและความรู้ที่แต่ ละคนจะได้รับ มีการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือไม่ โดยประเมินผลงานของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งรวมกันเป็นผลงานของกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งกลุ่มและรายบุคคลให้ สมาชิกทุกคนรายงานหรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึง ตรวจสรุปผลการเรียนเป็นรายบุคคลหลังจบบทเรียน เพื่อเป็นการประกันว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบทุกอย่างร่วมกับกลุ่ม ทั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล
 4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง การมีทักษะทางสังคม (Social Skill) เพื่อ ให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คือ มีความเป็นผู้นำ รู้จักตัดสินใจ สามารถสร้างความไว้วางใจ รู้จักติดต่อสื่อสาร และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกันที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบ ความสำเร็จ
 5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) หมาย ถึง กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม โดยผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด มีความร่วมมือทั้งด้านความคิด การทำงาน และความ รับผิดชอบร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ การที่จะช่วยให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายนั้น กลุ่มจะต้องมีหัวหน้าที่ดี สมาชิกดี และกระบวนการทำงานดี นั่นคือ มีการเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกัน

     สรุป
     ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) เป็นวิธีการสอนในรูปแบบหนึ่ง ที่จะเน้นให้ผู้เรียนนั้นปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลสนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม 

     เอกสารอ้างอิง
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สุทธฺรัตน์. (2553). ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักพิมพ์ บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์มปอเรชั่น จำกัด ; กรุงเทพมหานคร.
     ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
     URL : http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554