วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

    ทิศนา แขมมณี (2545 : 51-68) กล่าวไว้ว่า 
    1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's connectionism) กฏการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ สรุปได้ดังนี้
         1.1 กฏแห่งความพร้อม (Law of readiness) ที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
         1.2 กฏแห่งการฝึกหัด (Law of exercise) ที่ว่าการฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร
         1.3 กฏแห่งการใช้ (Law of use and disuse) ที่ว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้บ่อยๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจลืมได้
         1.4 กฏแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
    2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือแบบอัตโนมัติ (Classical conditioning theory) ทฤษฎีการเรียนรู้สรุปได้ดังนี้
         2.1 ฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไข ที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ         2.2 พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
         2.3 พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดกับสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อยๆ และหยุดลงในที่สุด หากได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
         2.4 พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้า
         2.5 มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันและจะตอบสนองเหมือนๆกัน
         2.6 บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
         2.7 กฎแห่งการลดภาวะพาฟลอฟ กล่าวว่า ความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อยๆ หากบุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น
         2.8 กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ กล่าวคือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลง สามารถเกิดขึ้นได้อีก โดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่
         2.9 กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ กล่าวคือ เมื่อเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแล้ว หากมีสิ่งเร้าคล้ายๆกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมากระตุ้น อาจทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมือนกันได้
         2.10 กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง กล่าวคือหากมีการใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลายแบบ แต่มีการใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็สามารถทำให้เกิดการเรียนได้ 
    3. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning theory) ของสกินเนอร์ ทฤษฎีการเรียนรู้สรุปได้ดังนี้

         3.1 การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
         3.2 การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้เกิดการตอบสนองกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
         3.3 การลงโทษทำให้เรียนรู้เร็วและลืมเร็ว
         3.4 การให้แรงเสริมหรือให้รางวัล เมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการสามารถช่วยปรับปรุงหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้

    จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958) 
    http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580
 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
สิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้

     http://dontong52.blogspot.com/ ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มองธรรมชาติ ของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว การกระทำต่างๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
    สรุป         ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) หมายถึง การศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลวการกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ แนวคิด
    1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's connectionism)   
    2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือแบบอัตโนมัติ (Classical conditioning theory)    3. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning theory)

     เอกสารอ้างอิง    
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สุทธฺรัตน์. (2553). ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักพิมพ์ บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์มปอเรชั่น จำกัด ; กรุงเทพมหานคร.
     URL : http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580เข้าถึง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
    URL : http://dontong52.blogspot.com/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น