วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

     Gardner (1983) กล่าวไว้ว่า เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภท หรืออาจจะมีมากกว่านี้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม โดยการ์ดเนอร์ได้แบ่งเชาวน์ปัญญาไว้ 8 ด้าน ดังนี้
          1. เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)
          2. 
เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical-mathematical intelligence)
          3. เชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence)
          4. เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence)
          5. เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily-kinesthetic intelligence)
          6. เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence)
          7. เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intraperonal intelligence)
          8. เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
     
     โฮเวิรด์ การ์ดเนอร์ (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=537.0) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความฉลาด แต่ความฉลาดของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย” ซึ่งจากคำกล่าวนี้เองจึงเป็นที่มาของทฤษฎีพหุปัญญา ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมากมายในโลกยุคปัจจุบัน
     การ์ดเนอร์ กล่าวว่า พหุปัญญา เป็นแนวคิดของพหุปัญญาในเรื่องที่เกี่ยวกับความเก่งความฉลาดของบุคคล โดยความเก่งความสามารถและความฉลาดดังกล่าวนั้นถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน หากสมองส่วนที่ควบคุมความเก่งนั้นได้รับความกระทบกระเทือนจนผิดปกติก็จะทำให้ความเก่งด้านนั้นหมดไปหรือพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรือไม่สามารถแสดงออกซึ่งความเก่งนั้นๆ ได้
     พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มี ความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน และการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีเป้าหมาย คิดอย่างมีเหตุผลและต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนา ความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


      (http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/2) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ในบทนำของหนังสือ (Multiple Intelligences Lesson plan book ) ว่านักการศึกษาส่วนมากตระหนักถึงการทำการทดสอบทางสติปัญญาที่เคยปฏิบัติกันสมัยก่อนว่าไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะวัดสติปัญญาเพียงด้านเดียว ซึ่งเรารู้เองว่ามีการแสดงออกทางสติปัญญาได้หลากหลายวิธีและรู้ว่าสติปัญญาสามารถได้รับการฝึกฝนและพัฒนาสืบต่อไป

     สรุป
     ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) กล่าวคือ เชาวน์ปัญญาแต่ละด้านของมนุษย์ถูกควบคุมโดยสมองส่วนต่างๆ กัน และด้วยเชาวน์ปัญญาทุกด้านเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ เชาวน์ปัญญาแต่ละด้านจึงแสดงออกในระดับพื้นฐานเหมือนๆ กันทุกแห่ง โดยเป็นอิสระจากอิทธิพลทางการศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งความสามารถนี้จะแสดงอย่างเด่นชัดในช่วงปีแรกของชีวิต และต่อๆมา จะค่อยๆ พัฒนาโดยการสัมพันธ์กับระบบสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แสดงออกทางเสียงเพลง การวาดภาพ ข้อเขียน เรื่องราว เป็นต้น ต่อไปเป็นการพัฒนาจะค่อยๆ เพิ่มระดับความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญืจะแสดงออกผ่านทางกิจกรรมและการประกอบอาชีพต่างๆ

     เอกสารอ้างอิง
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สุทธฺรัตน์. (2553). ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักพิมพ์ บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์มปอเรชั่น จำกัด ; กรุงเทพมหานคร.
     URL : http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=537.0 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 
     URL : http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/2  เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น