http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ
- ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
- ทฤษฎีสนาม(Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทเมอร์(Max Wertheimer) วุล์แกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคริ์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka) และเคริ์ท เลวิน (Kurt Lewin)
2. ทฤษฎีสนาม(Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญ คือ เคริ์ท เลวินซึ่งได้แยกตัวจากกลุ่มทฤษฎีเกสตัลท์ ในระยะหลัง
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Inlellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ( A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel)
สรุปด้เรียนเนื้อหาสาร
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม คือ มนุษย์เรียนรู้ได้โดยใช้สติปัญญาและเหตุผล แต่การอธิบายในรายละเอียดและจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ได้อธิบายรวม ๆ ว่า การเรียนรู้เกิดจากความเข้าใจ หรือรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งนั้น ๆ และได้กำหนดศัพท์เฉพาะสำหรับกระบวนการการใช้สติปัญญาลักษณะนี้ว่า “การหยั่งรู้” (Insight) ซึ่งเป็นแม่บทของจิตวิทยากลุ่มนี้ เพียเจต์ บรุนเนอร์ และกาเย่ ได้เน้นถึงพัฒนาการการใช้ความคิดและสติปัญญาของเด็ก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก เคิร์ท เลวิน ใช้ทฤษฎีสนาม โดยใช้พลังของความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ทอลแมน ได้ใช้ทฤษฎีเครื่องหมาย กระตุ้นผู้เรียนและเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ ส่วนออซูเบล ได้ให้ความสำคัญกับทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยให้มีการนำเข้าสู่บทเรียนก่อนการสอน จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะแบ่งระยะของพัฒนาการทางสติปัญญา และลักษณะหรือเงื่อนไขของการเรียนรู้แตกต่างกันไปบ้าง ก็จะต้องยอมรับว่าพวกเขามองสิ่งเดียวกันในแง่มุมต่าง ๆ กัน ซึ่งทำให้แนวความคิดของจิตวิทยาพุทธินิยมลึกซึ้งและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม คือ มนุษย์เรียนรู้ได้โดยใช้สติปัญญาและเหตุผล แต่การอธิบายในรายละเอียดและจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ได้อธิบายรวม ๆ ว่า การเรียนรู้เกิดจากความเข้าใจ หรือรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งนั้น ๆ และได้กำหนดศัพท์เฉพาะสำหรับกระบวนการการใช้สติปัญญาลักษณะนี้ว่า “การหยั่งรู้” (Insight) ซึ่งเป็นแม่บทของจิตวิทยากลุ่มนี้ เพียเจต์ บรุนเนอร์ และกาเย่ ได้เน้นถึงพัฒนาการการใช้ความคิดและสติปัญญาของเด็ก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก เคิร์ท เลวิน ใช้ทฤษฎีสนาม โดยใช้พลังของความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ทอลแมน ได้ใช้ทฤษฎีเครื่องหมาย กระตุ้นผู้เรียนและเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ ส่วนออซูเบล ได้ให้ความสำคัญกับทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยให้มีการนำเข้าสู่บทเรียนก่อนการสอน จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะแบ่งระยะของพัฒนาการทางสติปัญญา และลักษณะหรือเงื่อนไขของการเรียนรู้แตกต่างกันไปบ้าง ก็จะต้องยอมรับว่าพวกเขามองสิ่งเดียวกันในแง่มุมต่าง ๆ กัน ซึ่งทำให้แนวความคิดของจิตวิทยาพุทธินิยมลึกซึ้งและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง URL: http://theory-tishafan.blogspot.com/p/cognitivism.html . เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
URL: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
URL: http://surinx.blogspot.com/ .เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
URL: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
URL: http://surinx.blogspot.com/ .เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น